เรื่องความเชย ความชุ่ยบวกความโง่ของฉัน ยังมีให้เล่าต่อได้อีกนิด
สมัยที่ทำงานโครงการชาวเขา
หลังจากได้หลักสูตรประถมศึกษาสำหรับชาวเขา
และทยอยเชิญนักวิชาการมาช่วยเขียนสื่อการเรียนของแต่ละวิชาแล้ว
คณะทำงานคือพวกเรา ยังมีหน้าที่ต้องจัดการเรื่องการพิมพ์สื่อการเรียนออกมาด้วย
อาศัยที่เป็นโครงการพิเศษ
ไม่ต้องอิงกฎระเบียบราชการแบบเคร่งครัด
เราก็อาศัยวิธีการแบบลูกทุ่งของเรา เอาต้นฉบับไปให้โรงพิมพ์ตีราคา
ครั้งแรกไปที่เชียงใหม่ เพราะคิดว่าอยู่ใกล้ น่าจะคุ้มค่ากับการติดต่อประสานงาน
สมัยนั้นที่เชียงใหม่ยังมีโรงพิมพ์ไม่มากนัก
จำไม่ได้แล้วว่าไปติดต่อโรงพิมพ์ไหนบ้าง
แต่จำราคาได้คร่าว ๆ ว่า่สื่อฯคณิตศาสตร์เล่มบาง ๆ
โรงพิมพ์ที่เชียงใหม่เสนอราคามาระหว่าง 19 ถึง 23 บาท ต่อเล่ม
ถูกหรือแพง..ไม่รู้เลย เพราะไม่มีประสบการณ์
ในที่สุดก็ตัดสินใจลงไปสำรวจราคากันที่กรุงเทพฯ
ฉันกับยายเต่า เพื่อนร่วมกลุ่ม ถือถุงหิ้ว (คล้าย ๆ ถุงปุ๋ย แต่มีหู) ใบเบ้อเริ่มคนละใบ
บรรจุต้นฉบับสื่อฯ แต่ละวิชาที่จะเอาไปให้โรงพิมพ์ดู
สองสาวเดินตัวเอียงกระเท่เร่ เหมือนพนักงานขายผงซักฟอกสมัยก่อนโน้น
ที่มักสะพายถุงผงซักฟอกไปเร่ขายตามบ้าน ยังไงยังงั้น
เราเดินตัวเอียงไปตามโรงพิมพ์สองสามแห่ง เท่าที่จะนึกชื่อโรงพิมพ์ดัง ๆ สมัยนั้นได้
ราคาถูกลงจากราคาที่เชียงใหม่ ลงมาอยู่ราว ๆ 16-17 บาท (เอาเล่มคณิตศาสตร์เป็นเกณฑ์)
เราก็ยังตัดสินใจไม่ถูกอยู่ดีว่าจะพิมพ์ที่ไหน
บังเอิญฉันเคยรู้จักอาจารย์ท่านหนึ่ง
สมัยที่ทำงานอยู่สำนักพิมพ์แห่งหนึ่งย่านหัวลำโพง
อาจารย์เคยสอนที่คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ
ภายหลังลาออกจากราชการ อาจารย์มาเป็นที่ปรึกษาสำนักพิมพ์แห่งนี้
นึกขึ้นได้ว่าอาจารย์น่าจะรู้จักโรงพิมพ์ต่าง ๆ เป็นอย่างดี
เพราะอาจารย์คลุกอยู่ในวงการนี้มานาน ฉันจึงโทรหาท่านและโชคดีที่ท่านรับสาย
อาจารย์แนะนำโรงพิมพ์แห่งหนึ่งให้เรา
นั่นคือที่มาของโรงพิมพ์ ที่ได้พิมพ์งานให้โครงการชาวเขาของเราจนครบทุกเล่ม
ฉันกับยายเต่าหิ้วถุงใบเดิม ไปตระเวณหาโรงพิมพ์เป้าหมายนั้นจนพบ
ได้พบผู้จัดการหนุ่มรูปงาม ผู้เป็นทั้งเจ้าของโรงพิมพ์และผู้จัดการ
พลางแนะนำตัวและเอ่ยอ้างถึงอาจารย์ผู้แนะนำไปด้วย
ชายหนุ่มรับต้นฉบับสื่อฯ ไปพิจารณาดูทีละหน้า
แล้วก็จิ้มเครื่องคิดเลขไป ทำหน้าครุ่นคิดไปอยู่พักใหญ่
จากนั้นก็เงยหน้าพูดกับเราด้วยสุ้มเสียงเกรงอกเกรงใจเป็นล้นพ้นว่า
"5 บาทครับอาจารย์"
"หา !" สองสาวร้องขึ้นพร้อมกัน
"เท่าไรนะคะ" ยังนึกว่าตัวเองหูฝาด
"เอ่อ...ห้าบาทครับ" เขาอาจจะกำลังนึกว่าบอกแพงเกินไปหรือเปล่าว้า
สองสาวจึงทำตาเหลือกเช่นนี้
ฉันกับยายเต่าแทบไม่เชื่อหูตัวเอง...
นับแต่นั้นมา คณะของเราอีกหลายคน (สาว ๆ ทั้งนั้น)
ก็ทยอยกันขนสื่อฯ ประจำวิชาที่ตัวเองรับผิดชอบ
ลงมาให้ผู้จัดการหนุ่มรูปหล่อ(และโสด) จัดพิมพ์กันถ้วนหน้า
จนกระทั่งเหมือนจะกลายเป็นคนคุ้นเคยกัน
เพราะกว่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการตั้งแต่ส่งต้นฉบับ
ก็ยังต้องไปคอยตรวจปรู๊ฟ ดูปก ดูสี
เดินเข้าเดินออกโรงพิมพ์ สวนกันไปมาเป็นว่าเล่น นานเป็นปี
ความโง่ของเรานั้นอยู่ตรงที่ไม่เคยรู้เลย (ในตอนนั้น)
ว่างานลักษณะนี้แหละคือช่องว่าง ช่องโหว่ แล้วแต่จะเรียก
ที่พวกข้าราชการกลุ่มหนึ่ง ใช้เป็นที่ทำมาหากินกับโรงพิมพ์
จนร่ำรวยกันมานักต่อนักแล้ว
ราคาของที่ขายให้หน่วยงานราชการจึงมักแพงกว่าขายให้ชาวบ้าน
เพราะต้องบวกเปอร์เซนต์การโกงเข้าไปด้วย
ราคาของที่ขายให้หน่วยงานราชการจึงมักแพงกว่าขายให้ชาวบ้าน
เพราะต้องบวกเปอร์เซนต์การโกงเข้าไปด้วย
ทั้งสองฝ่ายต่างร่วมมือกันปล้นประเทศก็ตรงนี้แหละ
แต่ก็เพราะความโง่นี่แหละ ที่กลายเป็นเกราะคุ้มครองเรา
พวกเราจึงทำงานกันอย่างมีความสุข และสนุกมาก
และไม่เคยมีเสียงแห่งความระแวงสงสัยมาจากทางไหนเลย
ชะรอยจะเป็นบุญที่เคยเกื้อหนุนกันมา
ผู้จัดการหนุ่มก็ได้งาน ได้เงินจากโครงการเราไปไม่ใช่น้อย
เราเองก็ได้งานพิมพ์ที่มีคุณภาพ และราคาถูก
ชะรอยจะเป็นบุญที่เคยเกื้อหนุนกันมา
ผู้จัดการหนุ่มก็ได้งาน ได้เงินจากโครงการเราไปไม่ใช่น้อย
เราเองก็ได้งานพิมพ์ที่มีคุณภาพ และราคาถูก
ต้องขอบคุณอาจารย์ที่มองเราออก
ขอบคุณโรงพิมพ์ที่รู้ว่าอาจารย์เป็นคนอย่างไร
และรู้ว่างานนี้ไม่มีค่าใต้โต๊ะ จึงคิดราคาแบบแท้ ๆ
และรู้ว่างานนี้ไม่มีค่าใต้โต๊ะ จึงคิดราคาแบบแท้ ๆ
สิ่งที่เราเคยได้จากผู้จัดการหนุ่มหล่อและขี้เกรงใจคนนี้เพียงครั้งเดียว
ก็คือสั่งโค้กมาเลี้ยงคนละขวด (ปกติคือน้ำเปล่า)
เท่านั้นจริง ๆ